โมเมนตัม (Momentum, P) คือ ปริมาณที่เกิดจากมวลของวัตถุคูณ กับ ความเร็วของวัตถุในขณะนั้น เป็นปริมาณเวกเตอร์
P = mu ; P = โมเมนตัม มีหน่วยเป็น kg.m/s m = มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็น kg
u = ความเร็วของวัตถุ มีหน่วยเป็น m/s
u = ความเร็วของวัตถุ มีหน่วยเป็น m/s
การดล (Impulsive) ของวัตถุ คือ การเปลี่ยนโมเมนตัมของวัตถุนั้น เป็นปริมาณเวกเตอร์มีทิศทางไปทางเดียวกับทิศของแรงที่ มากระทำ มีหน่วยเป็น kg.m/s
DP = mv-mu
DP= การดลของวัตถุในเวลา t
m = มวลของวัตถุ มีหน่วย kg u = ความเร็วต้นของวัตถุ มีหน่วย m/s, v = ความเร็วปลายของวัตถุ มีหน่วย m/s
t = เวลาที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนจาก u เป็น v
การดล มี 2 แบบ คือ 1. เมื่อแรงกระทำต่อวัตถุมีค่าคงที่
1.1 ทิศของ v และ u อยู่ในแนวเดียวกัน
1.2 ทิศของ v และ u อยู่ตรงกันข้าม
1.3 ทิศของ v และ u อยู่กันคนละแนว
2. เมื่อแรงกระทำมีค่าไม่คงที่ จะสามารถหาค่าการดลได้จากพื้นที่ใต้เส้นกราฟระหว่างแรง (F) กับเวลา (t) โดยต้องคำนึงทิศทางของแรงด้วย
แรงดล (Impulsive Force, F) คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุในช่วงเวลาสั้น หรือ อัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมในช่วงเวลาสั้น ๆF = (mv-mu)/t
การชน (Collision)
1. การชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์
1.1 โมเมนตัมรวมก่อนชน = โมเมนตัมรวมหลังชน
m1u1 + m2u2 = m1v1 + m2v2
1.2 พลังงานจลน์รวมก่อนชน = พลังงานจลน์รวมหลังชน
u1+v1 = u2+v2
m1 = มวลวัตถุก้อนแรก m2 = มวลวัตถุก้อนที่ 2
u1 = ความเร็วของวัตถุก้อนแรกก่อนชน u2 = ความเร็วของวัตถุก้อนที่ 2 ก่อนชน
v1 = ความเร็วของวัตถุก้อนที่ 1 หลังชน v2 = ความเร็วของวัตถุก้อนที่ 2 หลังชน
หมายเหตุ สูตรนี้ใช้เมื่อu และv ไปทางเดียวกัน ถ้าในคนละทิศต้องคิดเครื่องหมายของความเร็วด้วย
2. การชนแบบไม่ยืดหยุ่น
2.1 โมเมนตัมรวมก่อนชน = โมเมนตัมรวมหลังชน
2.2 พลังงานจนล์รวมก่อนชน # พลังงานจนล์รวมหลังชน
2. การชนใน 2 มิติ เป็นการชนกันของวัตถุ 2 ก้อน ซึ่งภายหลังชนกันแล้วแยกไปคนละทางและไม่มีการสูญเสียพลังงานจลน์
กรณี m1 = m2 มุมที่มวลทั้งสองจะทำมุมกัน 90
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น