ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับความสูงของชั้นบรรยากาศ
สมบัติของอากาศ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างความดันของอากาศกับความสูงเมื่อเทียบกับที่ระดับน้ำทะเล พบว่า เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น 11 เมตร ความดันจะลดลง 1 มม. ปรอท หรือ ความสูงลดลง 11 เมตร ความดันจะเพิ่มขึ้น 1 มม. ปรอท เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
H2-H1 = 11(P2-P1)
โดยที่ H = ความสูง หน่วย เมตร P = ความดัน หน่วย มม. ปรอท
หมายเหตุ ที่ระดับน้ำทะเล ความสูง = 0 เมตร ความดัน = 760 มม. ปรอท
2. ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของจุดเดือดน้ำกับความสูงเมื่อเทียบกับที่ระดับน้ำทะเล พบว่า เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น 297 เมตร อุณหภูมิของจุดเดือดน้ำจะลดลง 1 องศาเซลเซียส หรือความสูงลดลง 297 เมตร จุดเดือดน้ำเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
H2-H1 = 297 (T2-T1)
โดยที่ T = อุณหภูมิ หน่วย องศาเซลเซียส
หมายเหตุ ที่ระดับน้ำทะเล ความสูง = 0 เมตร จุดเดือดน้ำ 100 องศาเซลเซียส
3. ความซื้นในอากาศ คือ ปริมาณของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ จะการบอกอยู่ 2 แบบ คือ
ความชื้นสัมบูรณ์ คือ ปริมาณของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศขณะนั้น มีหน่วย กรัม ต่อปริมาตรของอากาศขณะนั้น หน่วย ลูกบาศก์เมตร ดังนั้น หน่วยของความชื้นสัมบูรณ์ เป็น กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ความชื้นสัมพัทธ์ คือ อัตรส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในขณะนั้น ต่อ มวลของไอน้ำที่อิ่มตัวในขณะนั้น คูณกับ 100 มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น